วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี



เข้ากับกระแสการใช้ชีวิตในสังคมยุคใหม่ และเอาใจสาวกสมาร์ทโฟน ที่นิยมการดาวน์โหลด

กับผลงานการพัฒนาแอพพลิเคชั่น บนมือถือ จากฝีมือนักวิจัยของเนคเทค หรือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

ที่พร้อมจะขนมาโชว์กว่า 30 แอพพลิเคชั่น ในงานประชุมวิชาการและนิทรรศการของเนคเทคเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปี หรือ NECTEC-ACE 2011

ซึ่งปีนี้ยกผลงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อตอบสนองวิถีชีวิตคนเมือง สมัยใหม่ ขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งโซนไฮไลต์ของงาน โดยมีทั้งด้านความบันเทิง การเกษตร การแพทย์และสุขภาพ รวมถึงด้านการขนส่งและการจราจร

แอพฯ เหล่านี้ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เพื่อนำไปทดลองใช้งานจริง

อย่างเช่น แอพพลิเคชั่น “แกลลอรี่3 มิติ” (Gallery 3D) ทางเลือกของคนชอบถ่ายรูปผ่านมือถือ ผลงานของ ดร.จันทร์จิรา สินทนะโยธิน นักวิจัยอาวุโสจากหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีภาพ และทีมงาน ที่มีผลงานเป็นที่รู้จักจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์กะโหลกศีรษะและจำลองใบหน้าหลังการจัดฟัน

ดร.จันทร์จิรา บอกถึง แกลลอรี่ 3 มิติ ผลงานชิ้นใหม่ที่เพิ่งเสร็จหมาด ๆ ว่า เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านเทคโนโลยีภาพ 3 มิติ มานำเสนอภาพบนมือถือให้จัดแสดงในรูปแบบแกลลอรี่ เสมือนจริง สามารถที่จะหมุนด้วยการสัมผัสหน้าจอ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปในแกลลอรี่ที่สร้างขึ้นด้วยการกดปุ่ม หรือใช้ระบบตรวจจับความเคลื่อนไหวที่มีอยู่ในมือถือรุ่นใหม่ ก็ได้

แอพพลิเคชั่นแบบนี้ นักวิจัยบอกว่าไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในต่างประเทศมีให้โหลดอยู่แล้วเพียงแต่จะเสียค่าดาวน์โหลด ซึ่งก็ไม่แพงมาก แต่นี่ก็คืออีกหนึ่งทางเลือกสำหรับนักดาวน์โหลดที่จะได้ใช้งานแอพพลิเคชั่นฝีมือคนไทย และที่สำคัญ โหลดได้ฟรี โดยปัจจุบัน รองรับกับสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.2

ส่วนแอพพลิเคชั่น “ทราฟฟี่ บีเซฟ” (Traffy b Safe) ก็เป็นอีกหนึ่งแอพฯ ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะกับคนทำงานที่ต้องอาศัยรถโดยสารสาธารณะ ทีมวิจัยจากหน่วยวิจัยสารสนเทศการสื่อสารและการคำนวณ บอกว่า แอพฯ นี้ใช้สำหรับการแจ้งร้องเรียนเรื่องความปลอดภัยของการเดินทาง สามารถอัพโหลดรูปภาพ แสดงความคิดเห็น ทำการวัดความเร็วของรถแบบเรียลไทม์ ขณะที่นั่งโดยสารอยู่ เพื่อใช้เป็นหลักฐานกรณีรถโดยสารนั้น ๆ ขับรถเร็วเกินกำหนดได้อีกด้วย โดยผู้ใช้งานมีสิทธิที่จะร้องเรียนโดยส่งต่อไปยังกรมการขนส่งทางบกหรือมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคได้ทันที อนาคต ผู้วิจัยบอกว่าจะมีการพัฒนาต่อให้สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการขับของผู้ขับขี่ได้อีกด้วย ปัจจุบันแอพพลิเคชั่น ถูกทดสอบใช้งานแล้วกับรถตู้โดยสารที่วิ่งระหว่าง ม.ธรรมศาสตร์ รังสิตกับอนุสาวรีย์ฯ โปรแกรมนี้ใช้ทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และของแอปเปิ้ล

สำหรับ “ฟู้ดไออีท” (Food i Eat) แอพพลิเคชั่นสำหรับคนรักสุขภาพ ผลงานของทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์นักวิจัยเจ้าของผลงานบอกว่า แอพฯนี้เป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นโปรแกรมบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยเก็บประวัติการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ผู้ใช้สามารถกรอกปริมาณแคลอรีของอาหารที่ทานเข้าไป โดยเลือกค่าจากฐานข้อมูลอาหารที่มีกว่า 200 ชนิด ทำให้ผู้ใช้ทราบว่าในแต่ละวันทานอาหารเข้าไปแล้วกี่แคลอรี แถมมีระบบคำนวณความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ทราบว่าอาหารที่ทานเข้าไปเหมาะสมหรือไม่อีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่น ใบข้าว (BaiKhao) แอพฯ ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ พัฒนาขึ้นสำหรับอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องทำงานด้านการเกษตร ให้เป็นทางเลือกสำหรับการตรวจสอบความต้องการธาตุไนโตรเจนของต้นข้าวในนา แอพพลิเคชั่นผึ้งใจสิงห์ (Bee The Lion) จากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาพ ที่เป็นโปรแกรมช่วยค้นหาดอกไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับดอกไม้ที่อยากรู้จัก โดยอาศัยภาพถ่ายดอกไม้เป็นต้นฉบับในการค้นหา และแอพพลิเคชั่น แรลลี่วัฒนธรรมไทย (Thai Fiesta) จากห้องปฏิบัติการวิจัยสารสนเทศสื่อประสม ที่จะนำผู้ใช้งานเข้าสู่เทศกาลของไทยผ่านไอโฟน โดยมีการแนะนำเทศกาลรอบ ๆ ตัว สามารถแข่งขันเก็บคะแนนกับเพื่อนในกลุ่มรวมถึงท่องเที่ยวในรูปแบบสังคมออนไลน์ได้



การใช้เทคโนโลยีสารสนเทคในการนำเสนอผลงาน


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทคในการนำเสนอผลงาน
 
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทคในการนำเสนอผลงาน 
1.
การเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน 
ด้วยข่าวคราวความเคลื่อนไหว เรื่องการปราบปรามการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนในองค์กร ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในเวลานี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้บริหารจะตรวจตราการใช้ซอฟต์แวร์ในองค์กรของตนอีกสักครั้ง สำหรับผู้นำองค์กร และผู้บริหารระดับสูงแล้ว ส่วนใหญ่จะถนัดเจรจาต่อรองปิดการขาย มากกว่าการเลือกซื้อหาซอฟต์แวร์ ภาระหน้าที่สำคัญนี้จึงมักตกอยู่กับแผนกไอที  ซึ่งผู้จัดการแผนกไอทีเอง ก็ไม่ควรทำเพียงแค่ตรวจรับซอฟต์แวร์ที่ผู้ขายนำมาส่งมอบ แต่จำเป็นต้องดูให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ที่ต้องการซื้อ สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรได้ครบถ้วนหรือไม่ ไม่ว่าซอฟต์แวร์นั้นจะเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ หรือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ก็ตาม ล้วนมีความจำเป็นที่ต้องนำปัจจัยต่างๆ มาประเมินอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะไม่เช่นนั้น สิ่งสุดท้ายที่องค์กรต้องเผชิญ คือ การซื้อซอฟต์แวร์มาแล้ว แต่ไม่สามารถใช้งานได้ตามต้องการ 

ในบางประเทศ รัฐบาลคิดนำนโยบาย และกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบแก่ซอฟต์แวร์บางจำพวกมาใช้ ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้ซื้อเฉพาะซอฟต์แวร์บางจำพวกในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง หรือในนโยบายระดับชาติอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น การให้ทุนในการวิจัย และพัฒนาแก่ซอฟต์แวร์เฉพาะจำพวกหนึ่ง การนำนโยบายเหล่านี้มาใช้อาจเป็นเพราะรัฐบาลต้องการลดค่าใช้จ่าย หรือต้องการมีผู้เสนอขายให้เลือกมากขึ้น แรงจูงใจอีกประการหนึ่ง คืออยากส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศ หรืออยากให้ตลาดในประเทศไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติ 

อย่างไรก็ดี นโยบายเลือกซื้อเฉพาะซอฟต์แวร์บางจำพวกนี้ทำร้ายตลาด และจำกัดจำนวนซอฟต์แวร์ที่ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการ นั่นหมายความว่าผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไม่อาจแข่งขันได้อย่างเป็นธรรม และนำไปสู่การที่องค์กรจำใจต้องเลือกซื้อซอฟต์แวร์ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ซอฟต์แวร์ก็เช่นเดียวกับสินค้าอื่นๆ ที่ต้องเลือกซื้อ โดยคำนึงถึงการใช้งานเป็นสำคัญ ไม่ใช่ความชอบส่วนตัว องค์กรต่างๆ ที่จัดซื้อจัดหาซอฟต์แวร์ ลำดับแรกต้องระบุวัตถุประสงค์ และความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไรจากซอฟต์แวร์นั้นๆ แล้วปล่อยให้ผู้ขายไม่ว่าจะเป็นโอเพนซอร์ซ หรือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์เสนอราคาเข้ามา การจะเลือกซื้อซอฟต์แวร์ใดนั้นควรเลือกจากคุณสมบัติ, ความสามารถในการทำงาน, การทำงานร่วมกับระบบที่มีอยู่,ความปลอดภัย, ความคุ้มค่า รวมทั้งราคาในการเป็นเจ้าของ 

ทั้งนี้การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรี จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และผู้บริโภคในระยะยาว นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะเกิดแรงจูงใจในการแข่งขันกันสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดียิ่งๆขึ้น และยังเป็นการเตรียมให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในประเทศพร้อมสำหรับสภาพการแข่งขันจริงในตลาดโลก ที่ปราศจากการปกป้องของนโยบายดังกล่าวข้างต้น 

นอกจากนี้ในตลาดที่ปราศจากนโยบาย ให้เลือกซื้อเฉพาะซอฟต์แวร์บางจำพวก องค์กรจะไม่ลำบากแต่กลับจะสามารถ สรรหาซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดในตลาดมาใช้ได้อย่างเสรี ด้วยความมั่นใจเต็มที่ว่าการเลือกของตนไม่ถูกจำกัดโดยปัจจัยที่ไม่ได้เป็นตัวกำหนดคุณภาพ หรือความสามารถของผลิตภัณฑ์ และการทำเช่นนั้นจะช่วยให้งานบรรลุผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน 
2.
การใช้ซอฟแวร์และอุปกรณ์ดิจิตัลมาช่วยในการนำเสนองาน 
เนื่องจากในปัจจุบันทุก ปี จะมีภาษาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์เกิดขึ้นมากมาย โดยจะมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันไป ดังนั้นในการ ใช้้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ดิจิตัลมาช่วยในการนำเสนองานผู้ใช้จึงจำเป็นที่จะต้องทำการคัดเลือกภาษาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่จะนำมาใช้ให้มี ีความเหมาะสมกับลักษณะงานที่จะทำเนื่องจากเมื่อศึกษาและพัฒนา Application ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ใดซอฟต์แวร์หนึ่งแล้ว การเปลี่ยนไปใช้ภาษาคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์อื่นในภายหลังจะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก อย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่จะสูญเสียไป รวมทั้ง ปัญหาที่จะต้องศึกษาหาความชำนาญใหม่อีกด้วย 

การนำเสนองาน หรือการ Presentงาน ที่นิยมเรียกกัน พบว่าเป็นปัญหาของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯเสมอ การนำเสนอผลงานเป็นสิ่งที่สำคัญในการผลักดันให้โครงการ ได้รับการยอมรับ และเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ จากการพูดคุยในหลายโอกาส พบว่า นักศึกษาของ มทร.ธัญบุรี มีความสามารถและความมุ่งมั่นในการทำงานสูงมาก แต่ขาดทักษะในการนำเสนอที่ดี และการใช้สื่อนำเสนอยังไม่สามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ซึ่งทำให้เสียโอกาสด้านต่างๆ เครื่องมือทีใช้ในการนำเสนอที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน คงไม่พ้น MS Power Point ซึ่งหากใครมีโอกาสได้ดูการนำเสนอหลายๆครั้ง จากบุคคลหลายๆกลุ่ม จะพบว่าเป็นเครื่องมือที่ดี เป็นเครื่องมือที่มีลูกเล่นเยอะมากจน บางคนทำได้สวยงาม น่าติดตาม บางคนทำให้ ผู้ฟังสับสน ทั้งที่เป็นโปรแกรมตัวเดียวกัน แต่สร้างความรู้สึก ต่อผู้ฟังการนำเสนอได้ต่างกัน 
บทความนี้จึงเสนอแนวทางในการเตรียมตัว และการพิจารณาปัจจัยต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อม ในการนำเสนองาน โดยเสนอหัวข้อที่ควรพิจารณาเตรียมการนำเสนอ ดังนี้ 
1.
ด้านเนื้อหาสาระ 
1.
เนื้อหามีความน่าสนใจ 
2.
เนื้อหามีความถูกต้อง 
3.
เนื้อหามีความครบถ้วน 
4.
เนื้อหาเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง 
5.
เนื้อหาเหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้ฟัง 
6.
การเชื่อมโยง 
7.
การจัดลำดับเนื้อหา 
8.
ตั้งข้อสังเกตุ และชวนให้ติดตาม 
9.
การสรุปประเด็นที่น่าสนใจ 
10.
สรุปเนื้อหาการนำเสนอทั้งหมด 
2.PowerPoint Presentation 
1.
โครงสร้างรูปแบบ( THEME ของ Slide) 
2.
การจัดลำดับ SLIDE 
3.
การจัดรูปแบบSLIDE LAYOUT 
4.
การจัดรูปแบบFont และขนาดตัวอักษร 
5.
การจัดรูปแบบภาพ 
6.
การจัดรูปแบบ slide effect 
7.
การจัดรูปแบบ animation 
8.
การ DEMO ,TEST,LINK ต่างๆ 
3.
ผู้นำเสนอ (Presenter) 
1.
บุคลิก การแต่งกาย 
2.
การใช้น้ำเสียง 
3.
การโน้มน้าว ชักนำเข้าสู่เนื้อหา 
4.
ความรู้ การเตรียมตัว 
5.
การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม 
6.
การตอบคำถาม 
7.
การรักษาเวลา การนำเสนอ